ถ้าถามผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตในปัจจุบันว่าเคยได้ยินคำว่า E-Commerce หรือไม่? เชื่อว่าคงมีน้อยคนที่จะตอบว่าไม่เคยได้ยินหรือไม่รู้จัก เพราะนี่คือหนึ่งในรูปแบบธุรกิจที่กำลังเป็นที่นิยมอย่างมากในยุคนี้ อธิบายให้เข้าใจง่ายๆ ว่า E-Commerce เป็นรูปแบบการขายของผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นแอปฯ หรือเว็บไซต์ เป็นต้น ประกอบกับในช่วงที่ผ่านมาของโรคระบาดที่ส่งผลกระทบไปทั่วโลก ทำให้หลายคนต้องกักตัวอยู่แต่ในบ้าน เป็นผลให้กระแสการทำธุรกิจแบบนี้เป็นที่นิยมมากยิ่งขึ้น
สำหรับใครที่เป็นผู้ประกอบการหรือนักการตลาดที่กำลังมองหาลู่ทางเพื่อมาจับกระแสเทรนด์การทำธุรกิจแบบ E-Commerce นี้ แต่ไม่มีองค์ความรู้มากพอก็อาจจะมีความเสี่ยงมากจนเกินไป ดังนั้นในบทความนี้จะพาผู้ประกอบการมือใหม่มารู้จักข้อดีข้อเสียของรูปแบบธุรกิจ E-Commerce แต่ละประเภทว่าเป็นอย่างไร และต้องทำอย่างไรถึงจะประสบความสำเร็จได้ในระยะยาว ถ้าพร้อมแล้ว มาดูกันเลย
ประเภทของ E-Commerce
โดยพื้นฐานทั่วไปแล้ว ในโลกของ E-Commerce จะมี 3 ประเภทหลักๆ ที่เป็นที่รู้จัก ดังนี้
1. Business to Consumer (B2C)
สำหรับธุรกิจแบบ B2C หรือ Business to Consumer ถ้าแปลแบบตรงตัวก็คือเป็นรูปแบบธุรกิจที่ผู้ประกอบการหรือแบรนด์จัดการขายสินค้าสู่ผู้บริโภคโดยตรง ไม่ว่าจะเป็นการขายผ่านรูปแบบร้านค้าออนไลน์หรือออฟไลน์ก็ตาม ประเภทสินค้าที่นิยมก็เช่น อาหาร, เสื้อผ้า, หนังสือ ส่วนประเภทบริการ เช่น สายการบิน, โรงแรม เป็นต้น
2. Business to Business (B2B)
ธุรกิจแบบ Business to Business หรือ B2B คือรูปแบบธุรกิจที่อาศัยการทำการค้าระหว่างผู้ประกอบการและผู้ประกอบการด้วยกันเอง โดยมีจุดประสงค์คือตอบสนองความต้องการทางธุรกิจของตัวเอง ไม่ว่าจะเป็นด้านวัตถุดิบ การผลิตสินค้า หรือบริการต่างๆ
3. Consumer to Consumer (C2C)
สำหรับธุรกิจแบบ Consumer to Consumer หรือ C2C จะเป็นลักษณะรูปแบบธุรกิจของพื้นที่แพลตฟอร์มออนไลน์หรือที่เรียกว่า Online Marketplace ที่จะเป็นตัวช่วยให้ผู้บริโภคสามารถขายสินค้าให้กับผู้บริโภคด้วยกันเองได้ เช่น Ebay, Facebook Marketplace เป็นต้น
โมเดลธุรกิจแบบไหนที่เหมาะสำหรับผู้ประกอบการ
ในฐานะผู้ประกอบการมือใหม่ที่ต้องการประสบความสำเร็จในการทำธุรกิจ E-Commerce จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องรู้ว่าสินค้าหรือบริการของแบรนด์เรา เหมาะกับโมเดลธุรกิจรูปแบบไหน ถ้าพร้อมแล้ว มาดูกันเลย
Direct to Consumer (DTC)
สำหรับโมเดล Direct to Consumer หรือ D2C นี้เป็นที่นิยมในปัจจุบัน โดยเป็นการที่แบรนด์สร้างช่องทางการขายออนไลน์ถึงผู้บริโภคเองโดยไม่ผ่านคนกลาง ไม่ว่าจะเป็นเว็บไซต์ หรือแอปฯ ของแบรนด์เอง
- ข้อดี : แบรนด์สามารถควบคุมทุกอย่างได้ด้วยตัวเอง ไม่ว่าจะเป็นกระบวนการผลิตหรือ Supply Chain ต่างๆ จึงทำให้สามารถกำหนดราคาที่สามารถแข่งขันเองได้ พร้อมกับมีคุณภาพสินค้าหรือบริการที่ได้มาตรฐาน และผลกำไรที่สูง
- ข้อเสีย : แน่นอนว่าการเป็นต้นน้ำของการผลิตเป็นเรื่องใหญ่ ต้องมีต้นทุนที่สูงเพื่อให้ได้สินค้าหรือการบริการที่มีคุณภาพ
Subcription DTC
สำหรับโมเดลนี้จะคล้ายกับโมเดลธุรกิจแบบ DTC คือเป็นการสร้างช่องทางการขายออนไลน์จากแบรนด์เอง แต่จะเป็นการเรียกเก็บเงินในรูปแบบของแผนการชำระเงินหรือที่เรียกกันว่า Subscription
- ข้อดี ด้วยแผนการชำระเงินจะช่วยให้แบรนด์สามารถคาดการณ์รายได้ที่แน่นอนสำหรับธุรกิจได้ และยังช่วยแสดงถึง Brand Loyalty ของลูกค้าที่เพิ่มขึ้นได้อีกด้วย
- ข้อเสีย ไม่ใช่สินค้าหรือบริการทุกอย่างจะสามารถนำกลยุทธ์นี้ไปปรับใช้ได้ ฉะนั้นอาจจะต้องศึกษาความเป็นไปได้ก่อนจะเลือกใช้กลยุทธ์นี้
White and Private Label
สำหรับโมเดลนี้จะเหมาะสำหรับผู้ประกอบการที่กำลังจะสร้างแบรนด์ ซึ่งเป็นกลุ่มธุรกิจที่เกี่ยวข้องระหว่างผู้ผลิตและผู้ค้าปลีก เนื่องจากเป็นโมเดลที่มีลักษณะของการไม่ติดฉลากสินค้า เป็นการตีตราเปล่าให้กับสินค้าให้ผู้ที่ต้องการสร้างแบรนด์สามารถนำไปตั้งชื่อ ตั้งราคาใหม่ให้มีความแตกต่างหลากหลาย เช่น เสื้อผ้า อาหาร เป็นต้น แต่หากพูดในโลกของดิจิทัลแล้ว โมเดลแบบ White Label นี้จะถูกพูดถึงในลักษณะของการให้บริการการทำการตลาดดิจิทัล เช่น SEO SEM รวมไปถึงโฮสต์ผู้ดูแลเว็บไซต์และรับออกแบบเว็บไซต์
- ข้อดี การที่แบรนด์ไม่ต้องรับภาระในการผลิตสินค้าเองจะช่วยให้แบรนด์มีเวลาเพิ่มขึ้นในการมุ่งเน้นไปที่องค์ประกอบอื่นๆ เช่น การทำการตลาดต่างๆ เป็นต้น
- ข้อเสีย หากได้โรงงานที่ไม่มีคุณภาพมากพอ อาจสร้างปัญหาให้กับแบรนด์ได้ในระยะยาว
E-Retailer
สำหรับ E-Retailer นั้นเป็นโมเดลพื้นฐานที่แทบทุกธุรกิจที่ต้องการเติบโตในแนวทาง E-Commerce จำเป็นต้องมี นั่นคือการเปิดช่องทางการขายออนไลน์เพิ่มเติม จากเดิมที่มีแค่หน้าร้านเพียงอย่างเดียว
- ข้อดี ผู้ประกอบการสามารถที่จะนำเสนอสินค้าต่างๆ ได้อย่างหลากหลายโดยที่ไม่จำเป็นต้องคำนึงถึงเรื่องการผลิต
- ข้อเสีย เนื่องจากแบรนด์ไม่ได้มีผลิตภัณฑ์ใดที่โดดเด่น อาจทำให้การสร้าง Brand Awareness เป็นเรื่องยาก อาจต้องใช้กลยุทธ์การตลาดอื่นๆ เข้าช่วย
แน่นอนว่าหากต้องการให้ธุรกิจ E-Commerce ประสบความสำเร็จ การเลือกโมเดลธุรกิจที่เหมาะสมจึงเป็นองค์ประกอบสำคัญที่ขาดไปไม่ได้ การรู้จักจุดแข็งจุดอ่อนของตัวสินค้าหรือบริการ จะช่วยให้คุณสามารถตัดชอยส์โมเดลอื่นๆ ที่ไม่เหมาะสมได้และเพิ่มโอกาสที่จะค้นหาโมเดลที่เหมาะสมที่สุดสำหรับแบรนด์ของคุณมากขึ้น
ที่สำคัญคือการทำธุรกิจ E-Commerce ไม่ใช่เรื่องที่ตัดสินใจเลือกใช้โมเดลนี้แล้วจะประสบความสำเร็จภายในครั้งเดียว แต่ต้องใช้เวลาในการประเมินประสิทธิภาพอย่างสม่ำเสมอ เมื่อถึงเวลาที่ต้องเปลี่ยนแปลงก็ต้องตื่นตัว และรู้จักปรับใช้สิ่งใหม่ๆ เพื่อให้ธุรกิจของคุณมีประสิทธิภาพที่ดีในระยะยาว
รับปรึกษาการทำ Digital Marketing ที่ Relevant Audience
Relevant Audience บริษัทที่ให้บริการเกี่ยวกับ Digital Performance Marketing Agency โดยมีเป้าหมายหลักเพื่อให้บริการด้านการตลาดดิจิทัล ให้ธุรกิจเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายที่กำลังมองหาผลิตภัณฑ์หรือบริการในเวลา สถานที่ และอุปกรณ์ที่เหมาะสม ผ่านช่องทางออนไลน์ต่างๆ บริการของเราครอบคลุมทั้ง Search Marketing, Social Media Ads, Search Ads และ SEO (Search Engine Optimization) ไปจนถึง Influencer Marketing และยังเป็นส่วนหนึ่งในโปรแกรม Google Partners อีกด้วย
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม
โทร.: 02-038-5055
อีเมล: info@relevantaudience.com เว็บไซต์: www.relevantaudience.com