ไฮไลท์ในบทความ
- คณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลของประเทศไอร์แลนด์ตรวจพบว่า Meta กำหนดให้ผู้ใช้งานแพลตฟอร์มต้องยินยอมต่อโฆษณาแบบส่วนบุคคลหรือ Personalized Advertising โดยมิชอบด้วยกฎหมาย
- Meta จะต้องจ่ายค่าปรับเป็นเงินประมาณ 223 ล้านดอลลาร์สำหรับการละเมิดนโยบายความเป็นส่วนตัวของ Facebook และอีก 191 ล้านดอลลาร์สำหรับบน Instagram
- Meta มีการวางแผนที่จะยื่นอุธรณ์คำตัดสิน เพราะเชื่อว่าการดำเนินการนั้นปกป้องข้อมูลและเคารพความเป็นส่วนของผู้ใช้งานแพลตฟอร์ม
ต้องบอกว่าเริ่มปีใหม่มาไม่ทันไร Meta บริษัทแม่ของแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียชื่อดังทั้ง Facebook และ Instagram ก็เฮงตั้งแต่ต้นปีด้วยการโดนปรับรวม 414 ล้านดอลลาร์โดยคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลของไอร์แลนด์ (DPC) เนื่องจากมีการละเมิดกฎหมายความเป็นส่วนตัวของสหภาพยุโรป (EU) ตามการรายงานของ DPC ระบุว่า Meta ละเมิดนโยบายความเป็นส่วนตัวของสหภาพยุโรปที่มีการกำหนดให้ผู้ใช้งานแพลตฟอร์มต้องยินยอมต่อโฆษณาแบบส่วนบุคคลหรือ Personalized Advertising ทำให้ Meta ต้องจ่ายเงินประมาณ 223 ล้านดอลลาร์สำหรับบน Facebook และอีกประมาณ 191 ล้านดอลลาร์สำหรับบน Instagram บทสรุปทั้งหมดจะเป็นอย่างไร Relevant Audience รวบรวมมาให้รู้ไปพร้อมกัน
Meta ถูกกล่าวหาหรือผิดจริง?
ถือเป็นบทสรุปของการสอบสวนที่ยาวนานโดยหน่วยงานกำกับดูแลคุ้มครองความปลอดภัยข้อมูลของไอร์แลนด์ตั้งแต่วันที่ 25 พฤษภาคม 2018 ซึ่งตรงกับวันที่กฎหมาย GDPR ของสหภาพยุโรปมีผลบังคับใช้ หากนับดูแล้วก็กินเวลายาวนานเกือบ 5 ปี
สำหรับใครที่สงสัยว่า GDPR คืออะไร? อธิบายให้เข้าใจง่ายๆ ว่า GDPR คือข้อบังคับที่ช่วยในการปกป้องข้อมูลส่วนบุคคลของพลเมืองในสหภาพยุโรป (EU) โดยจะมีผลโดยตรงต่อกลุ่มธุรกิจโฆษณาที่มีการจัดเก็บข้อมูลลูกค้าโดยไมไ่ด้รับความยินยอม จะถือว่าเป็นเรื่องที่ผิดกฎหมาย อย่างในประเทศไทยเองก็จะมีกฎหมายที่เรียกว่า PDPA ที่เพิ่งถูกบังคับใช้ไปเมื่อปีที่ผ่านมา
ทั้งนี้หลังจากที่ GDPR ถูกบังคับใช้ ทำให้ Max Schrems นักเคลื่อนไหวชาวออสเตรียได้ยื่นร้องเรียนที่ Meta ให้มีการ ”บังคับผู้ใช้งานยอมรับการเก็บข้อมูลสำหรับการกำหนดเป้าหมายเพื่อโฆษณาส่วนบุคคลหรือที่เรียกว่า Personalized Ads เพื่อแลกกับการอนุญาตให้ใช้งานแพลตฟอร์ม” แทนที่จะมีตัวเลือกว่าจะยินยอมหรือไม่? ให้กับผู้ใช้งานนั่นเอง ส่งผลให้ DPC บังคับการจ่ายค่าปรับและให้ Meta ปรับปรุงการจัดการข้อมูลให้สอดคล้องกับข้อกฎหมายดังกล่าวภายใน 3 เดือน
Meta ยื่นอุทธรณ์ทันที
หลังจากคำตัดสินของ DPC ทางฝั่ง Meta ก็ได้ออกมาประกาศแผนการยื่นอุทธรณ์คำตัดสินดังกล่าวทันที โดยเชื่อว่าแนวทางการปกป้องข้อมูลของทั้งสองแพลตฟอร์มนั้นเป็นไปตามข้อกำหนดของ GDPR อย่างถูกต้อง และอ้างถึงเหตุผลที่ว่า DPC ไม่ได้ให้คำอธิบายบทบัญญติที่มีความชัดเจนเพียงพอ นอกจากนี้ Meta ยังระบุเพิ่มเติมอีกว่า ธุรกิจหรือนักการตลาดยังคงสามารถใช้ Personalized Ads Campaign บน Instagram และ Facebook ได้ตามปกติ
ทิ้งท้าย
แน่นอนว่า Meta มีสิทธิ์ตามกฎหมายในการอุทธรณ์คำตัดสินของ DPC และจะยังไม่ถูกบังคับให้ดำเนินการตามคำตัดสินจนกว่าจะถึงคำตัดสินขั้นสุดท้ายในศาล ถ้าหากในอนาคตมีรายละเอียดเป็นอย่างไร เราสัญญาว่าจะนำมาแชร์ให้รู้กันในทันที
รับปรึกษาการทำ Digital Marketing ที่ Relevant Audience
Relevant Audience บริษัทที่ให้บริการเกี่ยวกับ Digital Performance Marketing Agency โดยมีเป้าหมายหลักเพื่อให้บริการด้านการตลาดดิจิทัล ให้ธุรกิจเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายที่กำลังมองหาผลิตภัณฑ์หรือบริการในเวลา สถานที่ และอุปกรณ์ที่เหมาะสม ผ่านช่องทางออนไลน์ต่างๆ บริการของเราครอบคลุมทั้ง Search Marketing, Social Media Ads, Search Ads และ SEO (Search Engine Optimization) ไปจนถึง Influencer Marketing และยังเป็นส่วนหนึ่งในโปรแกรม Google Partners อีกด้วย
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม
โทร.: 02-038-5055
อีเมล: info@relevantaudience.com
เว็บไซต์: www.relevantaudience.com