ทุกวันนี้ผู้ใช้งาน YouTube ใช้เวลาเฉลี่ย 19 นาทีต่อวันเพื่อดูคอนเทนต์ต่างๆ บนแพลตฟอร์ม นั่นหมายความว่าในหนึ่งปีผู้ใช้งานหนึ่งคนจะใช้เวลาราว 120 ชั่วโมงต่อปีบน YouTube เลยทีเดียว หากนักการตลาดท่านใดที่กำลังมองหาช่องทางในการทำการตลาดออนไลน์อยู่ ก็วางเดิมพันได้เลยว่า YouTube จะสามารถสร้างการเข้าถึงคนดู (Reach) ได้อย่างมหาศาล (มีสถิติจาก WordStream รายงานว่า 32.4% ของคนทั่วโลก และ 51.8% ของคนที่ใช้งานอินเทอร์เน็ต ใช้งาน YouTube)
ฉะนั้นในบทความนี้จะเปรียบได้กับเป็นคู่มือเริ่มต้นสำหรับนักการตลาดมือใหม่ที่กำลังวางแผนสร้างแคมเปญโฆษณาบนแพลตฟอร์ม YouTube รับรองว่าอ่านจบแล้วทำตามได้ทันที
ทำไมถึงต้องโฆษณาบน YouTube
อย่างที่รู้กันดีว่าในงาน Google Marketing Live 2022 ที่ผ่านมา กูเกิลให้ความสำคัญอย่างมากกับเนื้อหาแบบ Visual Content และยังประกาศฟีเจอร์ใหม่เพิ่มเติมบน YouTube Short อีกด้วย ดังนั้น ลองมาดูเหตุผลว่าทำไมแบรนด์หรือนักการตลาดมากประสบการณ์ทั่วโลกถึงเลือก YouTube เป็นหนึ่งในแพลตฟอร์มอันดับต้นๆ ในการทำแคมเปญ
- การเข้าถึง (Exposure) – อย่างที่รู้กันดีว่า YouTube ถูกยกให้เป็น Search Engine อันดับ 2 ของโลก เป็นรองแค่เพียง Google Search เท่านั้น จึงไม่น่าแปลกใจว่าทำไมแพลตฟอร์มนี้ถึงสามารถเข้าถึงผู้คนได้จำนวนมาก
- เอกลักษณ์ของแบรนด์ (Brand Identity) – แบรนด์สามารถสร้างตัวตนได้ด้วยการนำเสนอคอนเทนต์วิดีโอเพื่อสร้างประสบการณ์ที่แปลกใหม่ให้กับผู้บริโภค
- ข้อมูล (Data) – สำหรับสาย Data รับรองว่าไม่มีผิดหวัง เพราะข้อมูลเชิงลึกหลังบ้านของ YouTube นั้นมีมากมาย ตั้งแต่การตรวจสอบจำนวนผู้รับชมไปจนถึงการวิเคราะห์จุดที่ผู้รับชมมักจะหยุดดู เป็นต้น
- เครื่องมือรายงาน (Analytics Report) – ถ้า Google Ads มี Google Analytics บน YouTube ก็มี YouTube Studio Report ที่จะช่วยให้นักการตลาดสามารถทำงานหลังบ้านและปรับปรุงประสิทธิภาพของแคมเปญได้แทบทันท่วงที
ราคาค่าโฆษณาเฉลี่ยบน YouTube
ต่อไปนี้จะเป็นราคาค่าโฆษณาเฉลี่ยบน YouTube โดยเป็นการรวบรวมข้อมูลจาก LOCALiQ
- สำหรับค่า CPM (Cost Per Thousand Impressions) ของธุรกิจส่วนใหญ่ จะอยู่ระหว่าง $4 – 10
- ธุรกิจส่วนใหญ่จะต้องจัดสรรงบประมาณรายวันสำหรับแคมเปญโฆษณาระหว่าง $10 ถึง $50
- ทุกๆ 100,000 ครั้งการเข้าถึงโฆษณาบน YouTube มีค่าใช้จ่ายเฉลี่ยอยู่ที่ $2,000
อย่างไรก็ตามค่าใช้จ่ายจริงจะแตกต่างกันไปตามธุรกิจ
รูปแบบโฆษณาบน YouTube
เมื่อได้ยินคำว่าโฆษณาบน YouTube หลายคนอาจจะนึกถึงแค่ “โฆษณา 30 วินาที ที่กดปุ่ม Skip เพื่อข้ามได้” แต่จริงๆแล้ว รูปแบบโฆษณาบน YouTube นั้นมีหลากหลาย เพื่อตอบโจทย์เป้าหมายของแต่ละธุรกิจที่ต่างกันออกไป โดยปัจจุบันมีอยู่ด้วยกัน 6 รูปแบบ ดังนี้
- Skippable In-Stream Ads
- Non-Skippable In-Stream Ads
- Bumper Ads
- Outstream Ads
- Masthead Ads
- Overlay Ads
- In-Feed Ads
ตัวชี้วัดโฆษณาบน YouTube
สำหรับตัวชี้วัดผลลัพธ์ของแคมเปญโฆษณา นักการตลาดจะต้องเข้าใจและแยกแยะความต่างระหว่าง “View” และ “Impression” ก่อน โดย
- Views – ตราบใดที่โฆษณานั้นเป็นรูปแบบโฆษณาที่สามารถกดข้ามได้ ระบบจะนับที่การดูโฆษณานั้นจนจบเป็นเวลา 30 วินาที หรือสั้นกว่าในกรณีที่วิดีโอนั้นสั้นกว่า 30 วินาที
- Impressions – สำหรับโฆษณาที่กดข้ามไม่ได้ก็จะเป็นการแสดงผลโฆษณาที่ต้องการให้ผู้รับชมเห็นข้อความทั้งหมดโดยไม่กดข้ามโฆษณา
เริ่มต้นสร้างแคมเปญโฆษณาบน YouTube แบบจับมือทำ
ก่อนการเริ่มต้นสร้างแคมเปญโฆษณาบน YouTube นักการตลาดจะต้องตั้งเป้าหมายให้ดีว่าจะเน้นไปที่เรื่อง Brand Awareness, Consideration หรือ Conversion เพราะจะส่งผลต่อรูปแบบและกลยุทธ์การทำ Bid Strategy ในภายหลัง ตัวอย่างเช่น หากเป้าหมายของแคมเปญคือการสร้าง Brand Awareness เพื่อขยายฐานผู้รับชมโฆษณาให้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ ในขั้นตอนการ Bid ก็ให้เลือก Impression เป็นต้น
1. สร้างแคมเปญโฆษณา
เปิด Google Ads Manager จากนั้นให้เลือก New Campaign จากนั้นจะมีหน้าต่างตัวเลือกขึ้นมา ให้เลือก “Create a Campaign Without a Goal’s Guidance”
จากนั้นให้เลือกรูปแบบแคมเปญเป็นวิดีโอ
2. เลือก Campaign Subtype
สำหรับการเลือก Campaign Subtype ให้เลือกตัวเลือกที่เหมาะสมตามเป้าหมายของแคมเปญโฆษณา หากไม่แน่ใจให้เลือกไปที่ Custom Video Campaign หรือ Drive Conversion Campaign ก่อน ซึ่งแน่นอนว่าสามารถกลับมาเปลี่ยนแปลงได้ในภายหลัง
3. กำหนด Bid Strategy
สำหรับขั้นตอนการกำหนด Bid Strategy จะขึ้นอยู่กับ Campaign Subtype ที่เลือกโดยปกติจะมีให้เลือกอยู่สองรูปแบบหากเลือก Subtype เป็น Custom Video Campaign คือ Maximum CPV (Cost Per View) และ Target CPM (Cost Per Thousand Impressions)
โดยการ Bidding บน YouTube จะไม่ซับซ้อนเท่ากับ Google Ads เพราะแต่ละรูปแบบบน YouTube มีข้อกำหนดในการเสนอราคาแบบตรงไปตรงมา ดังนี้
- Target CPM กำหนดราคาเป้าหมายต่อการแสดงผลพันครั้ง (Thousand Impression) โดยมากมักจะใช้สำหรับรูปแบบโฆษณาที่กดข้ามไม่ได้ (Non-Skippable In-Stream)
- Viewable CPM กำหนดราคาเป้าหมายต่อการแสดงผลที่ได้แสดงพันครั้ง (Thousand Viewable Impressions)
- Maximum CPV กำหนดราคาสูงสุดที่ต้องจ่ายต่อการดู (Pay Per View) คล้ายกับการเสนอราคาแบบ CPC (Cost Per Click)
- Maximize Conversions กำหนดให้ Google Ads สร้าง Conversion ให้เกิดขึ้นมากที่สุดภายใต้งบประมาณที่กำหนดไว้
- Target CPA กำหนดราคาเป้าหมายต่อการเกิด Conversion
4. เลือก Network ในการแสดงผลโฆษณา
สำหรับขั้นตอนการเลือกเครือข่ายในการแสดงผลโฆษณา นักการตลาดก็สามารถเลือกได้ว่าจะให้โฆษณาไปแสดงผลที่ไหนได้บ้างตามรูปตัวอย่าง สำหรับใครที่ไม่ต้องการให้โฆษณาไปแสดงผลบน Search Partner หรือ Display Network ก็สามารถยกเลิกได้
5. เลือกการยกเว้นการแสดงโฆษณาบนเนื้อหาบางประเภท
หากมีความกังวลเกี่ยวกับการแสดงโฆษณาบนเนื้อหาที่มีความละเอียดอ่อน นักการตลาดสามารถปรับเปลี่ยน Inventory Type ไปเป็นแบบ Limited Inventory ได้ หรือหากไม่สนใจว่าโฆษณาจะแสดงบนเนื้อหาแบบใดก็ได้ก็ให้เลือก Expanded Inventory ซึ่งอาจมีค่าใช้จ่ายที่ต่ำกว่าเนื่องจากการแข่งขันลดลง
6. เพิ่มวิดีโอที่เกี่ยวข้อง
สำหรับการเพิ่มวิดีโอที่เกี่ยวข้องมักจะเป็นขั้นตอนที่ถูกลืม อย่าลืมว่าการเพิ่มวิดีโอที่เกี่ยวข้องจากแชนแนลของคุณจะเป็นการเพิ่ม Engagement ได้แบบแนบเนียน หรือแม้แต่หากคุณมี Product Feed ที่เชื่อมอยู่บน Google Merchant Center อยู่แล้ว ก็อย่าลืมเลือกมาใช้เช่นกัน
7. Set Targeting
ในการกำหนดเป้าหมายแคมเปญ บน YouTube Ads จะมีสองตัวเลือกคือ People และ Content โดยมีรายละเอียดดังนี้
People – เป็นการกำหนดเป้าหมายตามคนที่ต้องการให้เข้าถึงการแสดงผลของโฆษณา โดยสามารถกำหนดเป้าหมายได้ตาม
- ข้อมูลประชากร (Demographics) เช่น อายุ เพศ สถานะความเป็นบิดามารดา รายได้ต่อครัวเรือน เป็นต้น
- กลุ่มผู้รับชม (Audience Segments) โดยสามารถเลือกจาก Google’s Audience หรือ Custom Audience ก็ได้
Content – เป็นการกำหนดเป้าหมายตามประเภทเนื้อหาคอนเทนต์ที่ต้องการแสดงผลโฆษณา โดยสามารถกำหนดได้ตาม
- Keyword Targeting จะเป็นการกำหนดเป้าหมายการแสดงผลโฆษณาตามเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับกลุ่ม Keyword ที่เลือกไว้ นับว่าเป็นการกำหนดที่เจาะจงมากที่สุด
- Placement Targeting จะเป็นการกำหนดเป้าหมายการแสดงผลโฆษณาบน YouTube Video, YouTube Channels, YouTube Lineups (เช่น เนื้อหายอดนิยม) รวมไปถึงแอปฯ หรือเว็บไซต์ โดยจะคล้ายกับการแสดงผลแคมเปญแบบ Display Campaigns
- Topics Targeting การกำหนดเป้าหมายตาม Topic จะเป็นการแสดงผลโฆษณาตามหัวข้อบางอย่าง เช่น “Hiking & Camping” เป็นต้น
8. สร้างแคมเปญโฆษณาของคุณ
เมื่อทำตามขั้นตอนก่อนหน้าทั้งหมดจนครบถ้วน ก็ถึงถึงเวลาการสร้างแคมเปญโฆษณาแล้ว
YouTube ได้ออกแบบคู่มือในการสร้างโฆษณาที่เรียกว่า ABCD โดยมีรายละเอียดดังนี้
- ดึงดูด (Attract) โฆษณาจะต้องดึงดูดความสนใจได้ภายใน 5 วินาทีแรก ด้วยการจัดรูปแบบการแสดงโฆษณาที่กระชับ อาจมีการเว้นจังหวะอย่างรวดเร็ว เพื่อสร้างความรู้สึกประหลาดใจให้กับผู้รับชม
- แบรนด์ (Brand) โฆษณาจะต้องแนะนำสินค้าหรือบริการที่แสดงถึงตัวตนของแบรนด์ภายใน 5 วินาทีแรก ไม่ว่าจะเป็นการใช้ข้อความ ภาพ เสียง
- เชื่อมต่อ (Connect) โฆษณาจะต้องดึงดูดอารมณ์ของผู้รับใช้ให้เชื่อมโยงกับแบรนด์
- กระตุ้นความรู้สึก (Direct) โฆษณาจะต้องกระตุ้นความรู้สึกผู้รับชม อาจจะมีการแจ้งข้อเสนอพิเศษ หรือจูงใจด้วยคำเฉพาะ
รับปรึกษาการทำ Digital Marketing ที่ Relevant Audience
Relevant Audience บริษัทที่ให้บริการเกี่ยวกับ Digital Performance Marketing Agency โดยมีเป้าหมายหลักเพื่อให้บริการด้านการตลาดดิจิทัล ให้ธุรกิจเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายที่กำลังมองหาผลิตภัณฑ์หรือบริการในเวลา สถานที่ และอุปกรณ์ที่เหมาะสม ผ่านช่องทางออนไลน์ต่างๆ บริการของเราครอบคลุมทั้ง Search Marketing, Social Media Ads, Search Ads และ SEO (Search Engine Optimization) ไปจนถึง Influencer Marketing และยังเป็นส่วนหนึ่งในโปรแกรม Google Partners อีกด้วย
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม
โทร.: 02-038-5055
อีเมล: info@relevantaudience.com
เว็บไซต์: www.relevantaudience.com