สำหรับปัญหาการที่กูเกิลไม่จัดทำ Indexing ให้กับหน้าเว็บไซต์เป็นหนึ่งในปัญหาโลกแตกที่นักการตลาดสาย SEO หลายคนต้องนั่งกุมขมับปวดหัวกันเป็นแถวๆ เพราะผลที่ได้คือหน้าเว็บที่อุตส่าห์เสียเวลาปรับแต่งเป็นเดือนๆ กลายเป็นหน้ากระดาษทิชชู่ที่ไร้ค่าไปในทันที
วิธีแก้ไขปัญหาหน้าเว็บไซต์ไม่ถูกจัดทำ Indexing ก็มีอยู่มากมาย แต่ในบทความนี้จะพานักการตลาดมือใหม่ทุกท่านมาลองใช้งาน Google Search Console ที่จะสามารถตรวจสอบข้อมูลเกี่ยวกับประสิทธิภาพต่างๆ ของเว็บไซต์ รวมไปถึงการรวบรวมข้อมูลปัญหาการจัดทำ Indexing ที่ผู้ใช้งานสามารถดูได้ทันทีเพื่อจะได้แก้ไขให้ทันควันรับรองว่าอ่านจบแล้วไปลองใช้งานตามได้ทันที
Index Coverage Report คืออะไร?
ใครที่มีประสบการณ์การทำ SEO คงผ่านการใช้งานกันมาบ้าง สำหรับหน้า Coverage Report นี้จะแสดงรายละเอียดต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับสถานะของการจัดทำ Index ของหน้าเว็บไซต์ ว่ามีสถานะเป็นอย่างไร โดยมีรายละเอียดดังนี้
- Error หมวดหมู่ Error จะถูกจัดไว้สำหรับหน้าเว็บไซต์ที่ไม่สามารถจัดทำ Indexing ได้
- Valid with Warnings หมวดหมู่นี้จะถูกจัดไว้สำหรับหน้าเว็บไซต์ที่สามารถจัดทำ Indexing ได้ แต่อาจมีปัญหาบางอย่างที่ควรแก้ไข
- Valid หมวดหมู่นี้จะถูกจัดไว้สำหรับหน้าเว็บไซต์ที่ผ่านการจัดทำ Indexing อย่างสมบูรณ์
- Excluded หมวดหมู่นี้จะเป็นหน้าเว็บไซต์ที่ถูก Exclude ออกจากการจัดทำ Indexing (ถือว่ายังไม่ถูกจัดทำ Indexing เช่นกัน)
Exclude และ Error ต่างกันอย่างไร?
ทั้ง Error และ Excluded ก็หมายถึงหน้าเว็บไซต์ที่ยังไม่ถูกกูเกิลจัดทำ Indexing ไม่ใช่หรอ? แล้วทำไมกูเกิลถึงไม่ยุบหน้ารวมกันให้มันดูง่ายขึ้นกว่านี้กันนะ? คำตอบของคำถามนี้มีอยู่ด้วยกัน 2 เหตุผล คือ
- สำหรับหน้าเว็บไซต์ที่อยู่ในหมวด Error คือหน้าเว็บไซต์ที่กูเกิลมองว่าหน้าเว็บไซต์อาจเกิดปัญหาบางอย่างที่ต้องได้รับการแก้ไขก่อนถึงจะสามารถจัดทำ Indexing ได้ หรือก็คือเกิดผิดพลาดทางเทคนิคที่ต้องได้รับการแก้ไขก่อนนั่นเอง
- สำหรับหน้าเว็บไซต์ที่อยู่ในหมวด Excluded คือหน้าเว็บไซต์ที่กูเกิลมองว่าเป็นความตั้งใจของผู้พัฒนาเว็บไซต์ที่ไม่ต้องการให้กูเกิลจัดทำ Indexing ให้กับหน้านั้นด้วยเหตุผลอะไรก็ตาม
แต่ปัญหาคือระบบอัลกอริทึมของกูเกิลในการจัดหมวดหมู่นี้ก็ไม่ได้มีการทำอย่างถูกต้องเสมอไป บางครั้งหน้าที่ควรจะถูกทำ Indexing ก็ดันไปอยู่ในหมวด Excluded ต่อไปนี้จะพาไปดูเหตุผลส่วนใหญ่ที่หน้าเว็บไซต์จะถูกจัดไปอยู่ในหมวด Excluded กัน
สาเหตุที่หน้าเว็บไซต์ไปอยู่ในหมวด Excluded
ลองมาดูสาเหตุบางประการที่หน้าเว็บไซต์จะปรากฏอยู่ในหมวด Excluded เริ่มจาก
การใช้ “แท็ก noindex”
สำหรับหน้าเว็บไซต์ที่มีการใช้แท็ก noindex กูเกิลจะมองว่าผู้พัฒนาเว็บไซต์ต้องการที่จะแยกหน้านี้ออกจากการจัดทำ Indexing อย่างหน้าเข้าสู่ระบบ หน้าผู้ใช้งาน เป็นต้น
ปัญหาด้านคุณภาพ
สำหรับหน้าเว็บไซต์ที่กูเกิลปล่อยอัลกอริทึมมารวบรวมข้อมูลแล้วแต่ก็ยังไม่สามารถจัดทำ Indexing ให้กับหน้านั้นได้ เป็นปัญหาที่ผู้เชี่ยวชาญ SEO ตั้งข้อสังเกตไว้ว่าอาจเกิดปัญหาในด้านคุณภาพของหน้าเว็บไซต์นั้น ข้อแนะนำในการแก้ไขคือลองตรวจสอบเว็บไซต์ให้ตรงตามเกณฑ์ที่กูเกิลแนะนำไว้ อย่างเช่นคอนเทนต์ในหน้าเว็บไซต์ตรงตามหลักเกณฑ์ E-A-T แล้วหรือยัง เป็นต้น
หน้าเว็บไซต์ถูก Redirects
แน่นอนว่าหน้าเว็บไซต์ที่ถูกทำ Redirects จะไปปรากฏอยู่ในหมวด Excluded โดยอัตโนมัติ ฉะนั้นอย่าลืมตรวจสอบปลั๊กอินบน WordPress เนื่องจากในบางครั้งอาจมีปลั๊กอินบางตัวที่เผลอไปติดตั้งและมีหน้าที่ในการทำ Redirects หน้าเว็บไซต์โดยอัตโนมัติ
ไม่ว่าคุณจะเป็นผู้เชี่ยวชาญ SEO ที่มีประสบการณ์ หรือเป็นมือใหม่ที่กำลังเริ่มต้น สิ่งสำคัญที่ต้องทำให้เป็นนิสัยคือการตรวจสอบข้อผิดพลาดต่างๆ บน Google Search Console เพื่อที่จะได้แก้ไขปัญหาต่างๆ เหล่านั้นก่อนที่มันจะสายเกินไป
รับปรึกษาการทำ Digital Marketing ที่ Relevant Audience
Relevant Audience บริษัทที่ให้บริการเกี่ยวกับ Digital Performance Marketing Agency โดยมีเป้าหมายหลักเพื่อให้บริการด้านการตลาดดิจิทัล ให้ธุรกิจเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายที่กำลังมองหาผลิตภัณฑ์หรือบริการในเวลา สถานที่ และอุปกรณ์ที่เหมาะสม ผ่านช่องทางออนไลน์ต่างๆ บริการของเราครอบคลุมทั้ง Search Marketing, Social Media Ads, Search Ads และ SEO (Search Engine Optimization) ไปจนถึง Influencer Marketing และยังเป็นส่วนหนึ่งในโปรแกรม Google Partners อีกด้วย
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม
โทร.: 02-038-5055
อีเมล: info@relevantaudience.com เว็บไซต์: www.relevantaudience.com