ใครเคยเล่นเกม Tetris บ้าง? เกมต่อบล็อกสุดคลาสสิคที่ไม่ว่าใครจะเก่งแค่ไหนก็ไม่สามารถที่จะ “เอาชนะ” ตอนจบของเกมได้ แถมในทุกระดับเลเวลตัวเกมยังเพิ่มความเร็วขึ้นเรื่อยๆ เพื่อเร่งให้ผู้เล่นเกมโอเวอร์ให้ได้ ลองมองย้อนกลับมาดูกระบวนการทำ SEO ก็จะพบว่าโดยพื้นฐานทั้งสองสิ่งนี้มีอะไรที่คล้ายๆ กัน อย่างที่ผู้เชี่ยวชาญ SEO หลายท่านคงรู้กันดีว่าในวันที่ทำเว็บไซต์ให้ติดอันดับแรกได้เมื่อไหร่ เมื่อนั้นก็เรียกได้ว่าเป็น “Point of No Return” หรือเป็นจุดที่ไม่สามารถกลับตัวได้แล้ว เพราะการทำ SEO นั้นไม่มีวันจบสิ้นหากต้องการให้เว็บไซต์ติดอันดับที่ดีอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลที่ว่าเว็บไซต์คู่แข่งกำลังตีตื้นขึ้นมาหรือกูเกิลอัปเดตอัลกอริทึมใหม่ๆ นั่นหมายถึงอันดับของคุณกำลังเกิดความสั่นคลอน
การทำ On-Page SEO ถือเป็นเรื่องจำเป็นลำดับต้นๆ หากต้องการให้เว็บไซต์ติดอันดับในหน้าแรก สำหรับมือใหม่หลายคนอาจเคยได้ยินมาบ้าง แต่ยังไม่เข้าใจอย่างถ่องแท้ว่าคืออะไร? และมีความสำคัญมากแค่ไหน? ในบทความนี้จะพามือใหม่ที่กำลังเริ่มต้นทำ SEO มารู้จัก 9 ปัจจัยที่ต้องรู้สำหรับการเริ่มต้นทำ On-Page SEO กัน
9 ปัจจัยสำคัญสำหรับการทำ On-Page SEO
สำหรับปัจจัยสำคัญสำหรับการทำ On-Page SEO สามารถแบ่งได้ออกเป็นสามประเภทหลัก คือ เนื้อหาคอนเทนต์ HTML และโครงสร้างเว็บไซต์ ดังนี้
เนื้อหา Content
การทำคอนเทนต์ให้ถูกหลักการ ตรงใจผู้บริโภค ทำให้ผู้อ่านได้รับประโยชน์ตามที่ต้องการ นั่นเรียกว่า “Content Is King” หรือก็คือการสร้างสรรค์คอนเทนต์บนเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ ยิ่งคอนเทนต์บนเว็บไซต์เข้าขั้น King มากเท่าไหร่ ก็จะยิ่งทำให้อัลกอริทึมของ Search Engine ประทับใจกับเว็บไซต์ของเรามากเท่านั้น ลองมาดูกันว่าการจะสร้างคอนเทนต์ให้เป็นคิงแบบไม่ใช่เบี้ยจะมีอะไรบ้าง
1.E-A-T
กูเกิลต้องการให้ทุกเว็บไซต์สร้างเนื้อหาที่มีคุณภาพ (Quality Content) เสมอ นั่นหมายถึงการที่กูเกิลมักจะอ้างอิงสิ่งที่เรียกว่า E-A-T หรือก็คืออัลกอริทึมพื้นฐานในการวัดว่าคอนเทนต์นั้นๆ มีคุณภาพมากพอในสายตาของกูเกิลหรือไม่ โดยพื้นฐานของคอนเทนต์แบบ E-A-T คือต้องมีองค์ประกอบ 3 ส่วนหลัก นั่นคือ
- Expertise (ความเชี่ยวชาญ) คอนเทนต์จะต้องแสดงให้เห็นว่าผู้เขียนมีความรู้หรือเชี่ยวชาญในสิ่งที่เขียนจริงๆ
- Authoritativeness (อำนาจ) คอนเทนต์จะต้องแสดงให้เห็นว่าเป็นเสมือนศูนย์กลางของความรู้ในสาขานั้นๆ
- Trustworthiness (ความน่าเชื่อถือ) คอนเทนต์จะต้องมีความน่าเชื่อถือ มีความสดใหม่
2.Keywords
กูเกิลคอยมองหาความเกี่ยวข้อง (Relevance) และคุณภาพ (Quality) เป็นสิ่งสำคัญลำดับต้นๆเพื่อคัดเลือกเว็บไซต์ที่สามารถตอบคำถามให้กับผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตได้น่าพึงพอใจที่สุด ฉะนั้นการปรับแต่งเว็บไซต์ให้มีความเกี่ยวข้อง อย่างการเลือกใช้ Keyword ให้ตรงกับสิ่งที่คนเสิร์ชเข้ามาไม่ว่าจะนำไปใช้บนลิงก์ URL บน Featured Snippet หรือส่วนต่างๆ ของเว็บไซต์ อย่างไรก็ตามอย่าลืมการทำ Keyword Research เพื่อกำหนดกลุ่มคำที่เหมาะสมในการเลือกใช้
3.เขียนตามหลักการ SEO
การเขียนคอนเทนต์ที่ต้องการให้ทั้งคนและอัลกอริทึมเข้าใจถือเป็นหนึ่งในศิลปะชั้นสูงของโลกใบนี้ มือใหม่ที่กำลังเริ่มต้นการทำคอนเทนต์ให้ตรงตามหลักการ SEO อาจรู้สึกว่าเป็นเรื่องยากมากที่จะทำให้ทั้งคนและอัลกอริทึมเข้าใจ ใครที่ไม่รู้ว่าจะเริ่มต้นอย่างไร ลองใช้ข้อแนะนำต่อไปนี้
- เน้นอ่านทำความเข้าใจง่าย ลองเริ่มต้นเขียนเนื้อหาที่สามารถอ่านทำความเข้าใจเนื้อหาได้ง่าย ไม่ซับซ้อนจนเกินไป เพื่อให้ผู้ทีค้นหาสามารถค้นหาข้อมูลที่ต้องการได้อย่างรวดเร็ว
- อย่าสแปม Keywords หรือศัพท์ในวงการเรียกกันว่า Keyword Stuffing หากกูเกิลจับได้ว่าเว็บไซต์มีการทำ Keyword Stuffing กูเกิลจะลดการมองเห็นของเว็บไซต์ทันที
- เขียนประโยคและย่อหน้าให้สั้นเข้าไว้ ใครที่เคยเข้าเว็บไซต์ที่มีบทความที่มีหนังสือเรียงกันเป็นตับ คงอ่านกันได้ไม่ถึง 10 วินาที จากนั้นก็คงกดปิดออกเพราะอ่านไม่รู้เรื่องและปวดตากันใช่ไหม ดังนั้นให้หลีกเลี่ยงการเขียนประโยคยาวๆ และใช้ย่อหน้าเพื่อแบ่งเนื้อหาให้ผู้อ่านเข้าใจง่าย
- ใช้ Subheading การใช้ Subheading สำหรับการแบ่งหัวเรื่องรอง จะช่วยดึงดูดความสนใจจากใครก็ตามที่กำลังอ่านเนื้อหาคอนเทนต์อยู่ อย่างไรก็ตามควรใช้ให้เหมาะสมกับเนื้อหาคอนเทนต์นั้นๆ
- ใช้ Bullet list การใช้ Bullet list เพื่อแบ่งรายการหัวข้อย่อยเป็นวิธีที่ดีในการแบ่งข้อมูลออกเป็นส่วนย่อยต่างๆ เพื่อให้เกิดความเหมาะสม
4.Visual Assets
ผู้บริโภคในปัจจุบันมากกว่า 36% ใช้การค้นหาด้วยรูปภาพในการช้อปปิ้งออนไลน์ ฉะนั้นการใช้รูปภาพ วิดีโอ และอินโฟกราฟิกเป็นเรื่องที่มากกว่าความสวยงามของเว็บไซต์ แต่ยังเพิ่มโอกาสทำคะแนน SEO ให้กับเว็บไซต์ด้วย อย่างไรก็ตามให้ระวังขนาดของไฟล์ภาพเพื่อป้องกันประสิทธิภาพที่ลดลงของเว็บไซต์
HTML
HTML ( HyperText Markup Language) หรือก็คือโค้ดที่ใช้ในการจัดโครงสร้างเนื้อหาและหน้าเว็บไซต์ HTML เปรียบได้กับเป็นคนนำทางให้กับอัลกอริทึมของ Search Engine และผู้ใช้งานเบราวเซอร์ทั่วไปว่าหน้าเว็บไซต์นี้คืออะไร
ลองมาดูปัจจัยต่างๆ ของ HTML ที่เกี่ยวข้องกับการทำ On-Page SEO กัน
5.Title Tags
Title Tags คือชื่อของหน้าเว็บเพจที่แสดงผลอยู่ด้านบนสุดของเว็บเบราว์เซอร์ ดังนั้น Title Tags จึงเป็นส่วนสำคัญมากในการทำ SEO แม้จะไม่มีกฎตายตัวสำหรับการตั้งชื่อ แต่หากมองในมุมอัลกอริทึมของ Search Engine การตั้งชื่อ Title ไม่ควรยาวเกิน 75 ตัวอักษร เพื่อไม่ให้มีความยาวเกินไป และควรตั้งชื่อให้มีความกระชับ น่าสนใจและได้ใจความ เพื่อดึงดูดผู้คนให้กดเข้ามายังเว็บไซต์นั่นเอง
6.Meta Description
Meta Description มีลักษณะเป็นชุดคำตัวอักษรสีเทาเล็กๆ ความยาวระหว่าง 175 – 225 คำ ที่จะปรากฏอยู่ใต้ Title Tags โดยการเขียน Meta Description ที่ดีต้องพยายามสรุปใจความสำคัญที่สามารถดึงดูดกลุ่มเป้าหมายให้กดเข้ามายังหน้าเว็บไซต์ได้ อาจใส่คีย์เวิร์ดที่เกี่ยวข้องลงไปตามความเหมาะสม การที่เว็บไซต์มีคำอธิบายที่ดีจะช่วยให้ผู้ที่ค้นหาข้อมูลเข้าใจว่าเว็บไซต์นั้นมีเนื้อหาอะไร
โครงสร้างเว็บไซต์
การมีเว็บไซต์ที่มีโครงสร้างที่ดีนั้นมีความสำคัญด้วยเหตุผลสองประการ
ประการแรก คือเว็บไซต์ที่มีโครงสร้างที่ถูกจัดวางอย่างสมเหตุสมผลจะสามารถถูกอัลกอริทึมของ Search Engine เข้ามารวบรวมข้อมูลเพื่อนำไปจัดอันดับเว็บไซต์ได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น และประการที่สองคือช่วยเสริมสร้างประสบการณ์ที่ดีให้กับผู้ใช้งานเว็บไซต์มากขึ้น
ลองมาดูปัจจัยที่ควรพิจารณาหากต้องการเพิ่มประสิทธิภาพให้กับโครงสร้างเว็บไซต์กัน
7.Site Speed
เว็บไซต์ที่โหลดช้าไม่ได้แค่สร้างความรู้สึกผิดหวังให้กับผู้ใช้งานเพียงอย่างเดียว แต่ส่งผลเสียต่ออันดับของเว็บไซต์ในระยะยาวด้วย ลองอ่านรายละเอียดเกี่ยวกับ Core Web Vitals ซึ่งเป็นปัจจัยหลักของกูเกิลที่จะประเมินประสบการณ์ใช้งานของผู้ใช้งานเป็นหลัก สำหรับวิธีแก้ไขหากพบว่าเว็บไซต์โหลดช้า มีวิธีแก้ไขเบื้องต้น ดังนี้
- ทำ Image Optimization
- ลดการทำ Redirects
8.Responsive Design
ในปี 2016 ปริมาณการค้นหาข้อมูลผ่านมือถือแซงหน้าเดสก์ท็อปเป็นครั้งแรก และนั่นก็เป็นจุดเริ่มต้นของพฤติกรรมที่เปลี่ยนไปของผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตไปตลอดกาล ปัจจุบันสัดส่วนของผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตบนมือถือมีมากถึง 56% (แท็บเล็ตอีก 2.4%) ด้วยเหตุผลดังกล่าวจึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่ Search Engine จะเริ่มจัดลำดับความสำคัญของเว็บไซต์ด้วยการออกแบบที่สามารถตอบสนองการใช้งานบนมือถือให้สูงขึ้นตาม ฉะนั้นในปัจจุบันใครที่กำลังทำเว็บไซต์ให้ติดอันดับ SEO ก็อย่าลืมออกแบบเว็บไซต์ให้สามารถใช้งานบนมือถืออย่างมีประสิทธิภาพ
9.Link Building
หนึ่งในกฎเหล็กของการทำเว็บไซต์ให้ติดอันดับ SEO คือการทำ Link Building หรือการเชื่อมโยงเนื้อหาบนเว็บ ทั้งภายในและภายนอก เพราะการทำ Link Building จะช่วยให้กูเกิลบอทเข้ามาเก็บข้อมูลตามลิงก์ที่ถูกเชื่อมโยงไว้ได้ดีขึ้น รวมไปถึงในเรื่องของหลักเกณฑ์ E-A-T ของการทำคอนเทนต์ ที่ Link Building ก็จะช่วยสร้างความน่าเชื่อถือให้กับคอนเทนต์ได้ โดยการทำ Link Building บนเว็บไซต์แบ่งได้ ออกเป็น 3 ประเภท ดังนี้
- Internal Link คือลิงก์ที่เชื่อมโยงเนื้อหาภายในเว็บไซต์
- External Link คือลิงก์ที่เชื่อมโยงเว็บไซต์หนึ่งกับอีกเว็บไซต์หนึ่ง พูดง่ายๆ คือสามารถกดลิงก์บนเว็บไซต์ของคุณแล้วไปเปิดหน้าเว็บของคนอื่นนั่นเอง
- Backlink หรือลิงก์จากเว็บอื่นๆ ที่กลับมาที่เว็บไซต์ เพื่อบอกให้อัลกอริทึมของกูเกิลรู้ว่าเนื้อหาของเว็บไซต์ได้ถูกนำไปอ้างอิง ยิ่งเว็บไซต์ที่ทำ Backlink ส่งกลับมามีค่า DA (Domain Authority) สูงเท่าไหร่ ก็จะยิ่งส่งผลดีต่อเว็บไซต์มากขึ้นเท่านั้น
รับปรึกษาการทำ Digital Marketing ที่ Relevant Audience
Relevant Audience บริษัทที่ให้บริการเกี่ยวกับ Digital Performance Marketing Agency โดยมีเป้าหมายหลักเพื่อให้บริการด้านการตลาดดิจิทัล ให้ธุรกิจเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายที่กำลังมองหาผลิตภัณฑ์หรือบริการในเวลา สถานที่ และอุปกรณ์ที่เหมาะสม ผ่านช่องทางออนไลน์ต่างๆ บริการของเราครอบคลุมทั้ง Search Marketing, Social Media Ads, Search Ads และ SEO (Search Engine Optimization) ไปจนถึง Influencer Marketing และยังเป็นส่วนหนึ่งในโปรแกรม Google Partners อีกด้วย
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม
โทร.: 02-038-5055
อีเมล: info@relevantaudience.com เว็บไซต์: www.relevantaudience.com