มีข้อมูลการสำรวจสถิติที่น่าเชื่อถือแห่งได้รายระบุตรงกันว่า Facebook เป็นแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียที่สามารถดึงดูดผู้ใช้งานได้มากถึง 2.93 พันล้านคนต่อเดือน ในไตรมาสที่ 1 ของปี 2022 ทำให้ Facebook กลายเป็นหนึ่งในแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียที่มี Active User ต่อเดือนมากที่สุดทั่วโลก
อย่างไรก็ตาม แม้ว่า Facebook จะเป็นแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียที่ได้รับความนิยมอย่างล้นหลาม แต่ก็ไม่ได้หมายความว่านักการตลาดหรือแบรนด์ที่ต้องการขยายฐานลูกค้าจะย้ายก้นตัวเองมาลงทุนงบประมาณมหาศาลเพื่อให้แคมเปญโฆษณาของคุณเข้าถึงผู้คนนับล้าน เพราะนั่นอาจจะกลายเป็นเรื่องเกินตัวและเกินงบประมาณไปแบบไม่ได้ประโยชน์อะไรกลับมา นี่เป็นเพียงตัวอย่างเล็กน้อยเท่านั้นเพราะในบทความนี้จะนำ 6 สิ่งที่เป็นปัญหาทั่วไปที่นักการตลาดและแบรนด์หลายรายพบเจอกันแบบรายวัน รวมไปถึงวิธีหลีกเลี่ยงปัญหาเหล่านั้น พร้อมกับเคล็ดลับที่จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพให้กับกลยุทธ์การทำแคมเปญโฆษณาบน Facebook ที่รับรองว่าอ่านจบแล้วสามารถไปรันแคมเปญโฆษณา Facebook ได้แบบมั่นใจไร้ความกังวลแน่นอน
1. สลัดความคิดที่ไม่ดีออก (Facebook Ads ไม่เหมาะกับบริษัทของฉัน)
มีหลายเหตุผลที่แบรนด์ตัดสินใจไม่เลือก Facebook เป็นช่องทางการทำการตลาดออนไลน์ ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลที่หลายคนมักจะคิดกันว่า Facebook ไม่มีเครื่องมีที่ดีพอในการจัดการแคมเปญโฆษณาหรือมีความซับซ้อนมากเกินไป รวมไปถึงมีความเชื่อที่ว่าการทำแคมเปญโฆษณาบน Facebook นั้นมีราคาที่แพงเกินจริง
แต่เอาเข้าจริงๆ แล้ว การทำการตลาดออนไลน์ในช่องทางอื่นๆ ก็มีข้อเสียที่คล้ายๆ กันทั้งนั้น เชื่อเถอะว่าไม่ว่าจะใช้ช่องทางไหนในการทำแคมเปญโฆษณาถ้ามีการวางกลยุทธ์ที่ชาญฉลาดและรอบคอบมากพอ ผลลัพธ์ที่ได้จะไม่มีคำว่าผิดหวังแน่นอน
หากแบรนด์กำลังพิจารณาการสร้างแคมเปญโฆษณาบน Facebook สิ่งแรกที่ควรทำ คือ เริ่มต้นตรวจสอบงบประมาณสำหรับการทำโฆษณา ไม่ว่าจะเป็นการพิจารณางบประมาณรายวันหรือระยะยาว รวมถึงใช้เวลาทำความเข้าใจความเป็นไปได้ของแต่ละแคมเปญ ด้วยศักยภาพของ Facebook เชื่อได้เลยว่าจะช่วยให้ธุรกิจทุกรูปแบบและทุกขนาด สามารถเข้าถึงลูกค้าได้ตรงตามเป้าหมายอย่างที่ต้องการ นอกจากนี้โฆษณาบน Facebook ยังมีฟีเจอร์มากมายที่ออกแบบมาเพื่อช่วยให้ผู้ใช้งาน “ทุกระดับ” สามารถจัดการและปรับแต่งโฆษณาได้เองตามความต้องการ บอกได้เลยว่า Facebook รวมทุกสรรพสิ่งที่จำเป็นสำหรับนักการตลาดมาไว้ให้หมดแล้ว เพียงแค่ต้องใช้เวลาในการศึกษาและทำความเข้าใจสักเล็กน้อยเพื่อติดปีกให้กับเครื่องมือทำโฆษณาบน Facebook นี้
2. ตั้งวัตถุประสงค์ของแคมเปญ (Objective) ไม่ถูกต้อง
จุดเริ่มต้นของทุกกลยุทธ์การตลาดคือการกำหนดวัตถุประสงค์ให้สอดคล้องกับความต้องการ จากนั้นก็นั่งรอดูผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นว่าเป็นไปตามสิ่งที่คิดเอาไว้หรือไม่ สำหรับการสร้างแคมเปญโฆษณาบน Facebook นั้นก็เป็นเรื่องเดียวกัน โดย Facebook จะแบ่งวัตถุประสงค์เหล่านี้ออกได้เป็นสามหมวด คือ
- หมวดการรับรู้ (Brand Awareness) – หากเป้าหมายของแบรนด์คือการสร้างการรับรู้ให้เพิ่มมากขึ้น ฉะนั้นสิ่งที่แคมเปญโฆษณาจะต้องทำนั่นคือการสร้างความน่าสนใจของสินค้าหรือบริการให้มากพอที่จะดึงดูดผู้ชมให้มีความรู้สึกตื่นเต้นหรือมีความสนใจ แล้วอะไรคือสิ่งที่จะทำให้แบรนด์มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว? สินค้าหรือบริการจะช่วยแก้ปัญหาต่างๆ ของผู้ใช้งานได้อย่างไร? หากหาคำตอบให้กับคำถามเหล่านี้ได้ก็ไม่ใช่เรื่องยากที่แบรนด์จะสามารถเชื่อมต่อกับผู้ที่พบเห็นเพียงแค่เสี้ยววินาทีได้
- หมวดการพิจารณา (Consideration) – สำหรับวัตถุประสงค์ของหมวดการพิจารณานี้จะเป็นการสร้างแรงดึงดูดผู้คนให้มีความรู้สึกอยากเรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับแบรนด์ พูดง่ายๆ ว่าแคมเปญโฆษณาของแบรนด์จะต้องทำให้พวกเขาเหล่านั้นรู้สึกสนใจที่อยากจะเข้ามาเยี่ยมชมเว็บไซต์เพื่อเพิ่มโอกาสในการขายสินค้าหรือบริการ รวมไปถึงดึงดูดให้ผู้คนกดปุ่มไลก์ แสดงความคิดเห็น หรือทักอินบ็อกส่วนตัวเข้ามา
- หมวดคอนเวอร์ชัน (Conversion) – สำหรับหมวดที่สามนี้ คือการที่แคมเปญโฆษณานั้นจะต้องหากลุ่มเป้าหมายที่จะให้เกิดการกระทำอย่างใดอย่างหนึ่งกับเว็บไซต์ เช่น ซื้อสินค้าบนเว็บไซต์ เป็นต้น
โดยทั้ง 3 หมวดสามารถแบ่งแยกย่อยลงไปได้อีก 13 วัตถุประสงค์ ดังนี้
- Store Traffic
- Reach
- Traffic
- Engagement
- Lead Generation
- Video Views
- Messenger
- Catalog Sales
- Event Response
- Page Likes
- App Installation
วัตถุประสงค์ของแคมเปญสามารถเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา อาจทดลองทำโฆษณาจากแคมเปญเล็กๆ เพื่อประเมินดูผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นก่อน จากนั้นค่อยปรับเปลี่ยนขยายขึ้น เพื่อให้เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายให้ดีกว่าเดิม
3. การจำกัดกลุ่มเป้าหมายกว้างเกินไป (หรือเจาะจงเกินไป)
การกำหนดกลุ่มเป้าหมายเป็นสิ่งสำคัญ อาจดูเป็นเรื่องยากสักหน่อยที่จะทำให้แน่ใจว่าการกำหนดเป้าหมายของแคมเปญนั้นไม่แคบหรือกว้างเกินไป ฉะนั้นการทำความรู้จักกลุ่มฐานลูกค้าของแบรนด์เป็นสิ่งสำคัญขั้นแรกที่ควรทำ ไม่ว่าเริ่มต้นด้วยการรู้จักอายุ เพศ รายได้ สถานภาพการสมรส ระดับการศึกษา รวมไปถึงงานอดิเรก ค่านิยมทางการเมือง และความสนใจอื่นๆ
ยิ่งรู้ลึกรู้ละเอียดมากแค่ไหนก็จะช่วยให้การกำหนดกลุ่มเป้าหมายมีผลลัพธ์ที่ดีขึ้นมากเท่านั้น จากนั้นไม่ว่าจะไปเริ่มการยิงแคมเปญโฆษณาผ่านฟีเจอร์ต่างๆ ของ Facebook Ads อย่าง Core Audience, Custom Audience และ Lookalike Audience ก็จะเป็นเรื่องง่ายในทันที
4. เลือกใช้ Ad Type ผิด
บน Facebook Ads มีรูปแบบโฆษณาหลายประเภทที่แบรนด์สามารถเลือกใช้ ไม่ว่าจะเป็นรูปภาพทั่วไป ภาพอินโฟกราฟิก คลิปวิดีโอ หรือภาพ Carousels เมื่อแบรนด์ตั้งวัตถุประสงค์ให้สอดคล้องกับเป้าหมายที่ต้องการรวมไปถึงการกำหนดกลุ่มเป้าหมายแล้ว ขั้นตอนการเลือกรูปแบบของโฆษณาก็มีความสำคัญไม่แพ้กัน
การเลือกรูปแบบโฆษณาให้มีความสอดคล้องก็จะช่วยให้แคมเปญโฆษณามีประสิทธิภาพในการทำงานที่ดีขึ้น
สำหรับตัวอย่างการใช้งานรูปแบบโฆษณาให้ตอบโจทย์ มีดังนี้
- Image Ads เป็นรูปแบบโฆษณาที่เข้าใจได้ง่ายและสามารถสื่อสารออกไปได้แบบชัดเจนตรงไปตรงมา
- Video Ads สามารถช่วยในการเล่าเรื่องและอธิบายเนื้อหาของแคมเปญโฆษณาได้มากกว่ารูปภาพ
- Carousel Ads สามารถแสดงสินค้าหลายชิ้นจากคอลเลกชันเดียวกันได้
- Collection Ads สามารถดึงดูดผู้คนและให้ความรู้พวกเขาเกี่ยวกับสินค้าผ่านการเลือกดูสินค้าบนมือถือ
- Instant Experience Ads สามารถนำเสนอสินค้าและแบรนด์ได้อย่างหลากหลายภายในโฆษณา 1 ชุด
- Stories Ads เป็นการนำเสนอสินค้าหรือบริการผ่าน Stories ช่วยให้แบรนด์ดูใกล้ชิดกับลูกค้ามากขึ้น
- Slideshow Ads นำเสนอการเล่าเรื่องราวอย่างเป็นลำดับขั้นตอน
- Messenger Ads ช่วยให้แบรนด์สามารถตอบปัญหาหรือติดต่อกับลูกค้าได้ดีมากขึ้น
- Playable Ads ช่วยให้ลูกค้ามีประสบการณ์ได้ทดลองใช้งานและช่วยกระตุ้นให้เกิดการดาวน์โหลดแอปฯ มากขึ้น
5. ไม่ใช้เครื่องมือ Analytics Tools
การปล่อยให้แคมเปญโฆษณาที่กำลังติดลมบนล่องลอยอย่างไร้จุดหมาย เพราะคิดว่า ”แคมเปญประสบความสำเร็จขนาดนี้แล้วเอาอะไรมาฉุดก็คงไม่อยู่” ความคิดเช่นนี้ถือเป็นเรื่องต้องห้ามอย่างเด็ดขาด หากแบรนด์หรือนักการตลาดไม่ติดตามแคมเปญโฆษณาอย่างต่อเนื่อง ก็จะเป็นการยากที่จะวัดผลลัพธ์ที่แท้จริงที่เกิดขึ้นได้ การติดตามแคมเปญโฆษณานั้นว่าสามารถทำหน้าที่ได้ดีแล้วจริงหรือยัง เพราะหากยังไม่ดีพอจะได้เริ่มหาทิศทางใหม่ๆ ที่จะรันแคมเปญโฆษณานั้นต่อ
ฉะนั้นการใช้เครื่องมือประเภท Analytics Tool ไม่ว่าจะเป็น Google Analytics หรือ Facebook Analytics เพื่อคอยติดตามแง่มุมต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นค่า Conversion ที่เกิดขึ้น การมีส่วนร่วมของผู้ใช้งาน และอื่นๆ ถือว่าเป็นหนึ่งในขั้นตอนที่มีความสำคัญเป็นลำดับต้นๆ ของการทำแคมเปญโฆษณา
6. การทำ A/B Testing บน Facebook
ปัญหาส่วนใหญ่ที่นักการตลาดและแบรนด์มักเจอ คือ ไม่ว่าจะใช้งบประมาณสูงเท่าไหร่ในการยิงแคมเปญโฆษณา ยอดขายก็ไม่เพิ่ม แถมบางครั้งผลลัพธ์ที่ได้กลับมาดันทำให้ยอดไลก์ ยอดแชร์หายอีกด้วย ฉะนั้นการทำ A/B Testing เพื่อพลิกสถานการณ์จากหน้ามือเป็นหลังมือถึงเป็นสิ่งจำเป็น นักการตลาดหลายคนมักมีอีโก้ที่สูง แต่หารู้ไม่ว่าการถือตัวว่ารู้เรื่องทุกสิ่งจะทำให้เรื่องทุกอย่างพังไปมากกว่าเดิม
สำหรับใครที่ทำหน้างงว่าอะไรคือการทำ A/B Testing ถ้าอ่านมาถึงตรงนี้ไม่ต้องสงสัยไป เพราะการทำ A/B Testing พูดง่ายๆ ก็คือการทดสอบว่าระหว่างโฆษณา Facebook ทั้งสองแบบนี้ (หรือจะมากกว่าสองก็ได้ แค่เรียกชื่อเพิ่มเป็น A/B/C/…. Testing) โฆษณาแบบไหนจะมีประสิทธิภาพที่ดีมากกว่ากัน ตัวอย่างเช่น หากอยากรู้ว่าปุ่ม CTA (Call to Action) ระหว่างสองแบบนี้แบบไหนดีกว่ากันก็แค่ควบคุมตัวแปรและรายละเอียดอื่นๆ ของแคมเปญโฆษณานั้นๆ ให้เหมือนกันยกเว้นแค่ปุ่ม CTA จากนั้นก็เพียงแค่รอดูผลลัพธ์และนำผลที่ได้ไปปรับใช้กับแคมเปญโฆษณาของจริง เพียงเท่านี้ก็จะเป็นการช่วยประหยัดงบประมาณที่อาจจะเสียไปโดยเปล่าประโยชน์
เมื่อแบรนด์ใช้เวลาในการวางกลยุทธ์และพิจารณาวัตถุประสงค์ กลุ่มเป้าหมาย รูปแบบโฆษณา และอื่นๆ ให้มากพอ ก็จะค้นพบว่าวิธีต่างๆ เหล่านี้จะช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายส่วนเกินและช่วยเพิ่มประสิทธิภาพให้กับแคมเปญโฆษณานั้นๆ ได้มากขึ้น อย่างไรก็ตามหากคุณเป็นมือใหม่ที่เพิ่งเข้าสู่แวดวงตลาดโซเชียลมีเดีย โปรดจำไว้ว่าการเรียนรู้จากความผิดพลาดคือโอกาสที่ยอดเยี่ยมสำหรับการเติบโตในอนาคต
รับปรึกษาการทำ Digital Marketing ที่ Relevant Audience
Relevant Audience บริษัทที่ให้บริการเกี่ยวกับ Digital Performance Marketing Agency โดยมีเป้าหมายหลักเพื่อให้บริการด้านการตลาดดิจิทัล ให้ธุรกิจเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายที่กำลังมองหาผลิตภัณฑ์หรือบริการในเวลา สถานที่ และอุปกรณ์ที่เหมาะสม ผ่านช่องทางออนไลน์ต่างๆ บริการของเราครอบคลุมทั้ง Search Marketing, Social Media Ads, Search Ads และ SEO (Search Engine Optimization) ไปจนถึง Influencer Marketing และยังเป็นส่วนหนึ่งในโปรแกรม Google Partners อีกด้วย
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม
โทร.: 02-038-5055
อีเมล: info@relevantaudience.com เว็บไซต์: www.relevantaudience.com